วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

คำซ้ำ คำพ้องเสียง คำประสม

คำซ้ำ ความหมายของคำซ้ำคำซ้ำเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลังคำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้ มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้นคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ - กริยาช่วย เช่น จะ คง ได้ อาจ - บุพบท เช่น ของ แห่ง ด้วย กับ - สันธาน เช่น เมื่อ หลังจาก ตั้งแต่ และ แต่ หรือ จึง คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์ เช่น หยิมๆ หลัดๆ ดิกๆ ยองๆ นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้ เป็น เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง เป็น เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน เป็น อิดๆ เอื้อนๆ

3. นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ

4. คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม

4.1 บอกพหูพจน์ คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล หนุ่มๆ มากับสาวๆ

4.2บอกความไม่เจาะจง การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้

5. บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น พื้นๆ (ธรรมดา) กล้วยๆ (ง่าย) น้องๆ (เกือบ, ใกล้, คล้าย) อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ) งูๆปลาๆ

6. คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้ เช่น เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้ เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ

คำพ้องเสียง คือคำมูลที่มีรูปคำต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำที่ออกเสียง สัน มีรูปคำได้ต่างๆ ดังนี้ี้
ศัล : เปลือกไม้
ศัลย์ : ลูกศร , ของมีปลายแหลม
สรร : คัด , เลือกสรรค์ : สร้างสรรพ์ : ทุกสิ่ง , ทั้งหมดสัณฑ์ : ดง , ที่รกสันต์ : เงียบ , สงบสัน : สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว



คำประสม

คือคำที่เกิดจากการประกอบคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีความหมายใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำมูลเดิม หรือมีความหมายเป็นเชิงอุปมาหรือโดยนัย แต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิมการสร้างคำประสม มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดคำใหม่เพิ่มขึ้น เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปคำพอที่เข้าใจความหมายกันได้ทั่วไปคำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบทก็ได้เช่นนาม กับ นาม หัวใจ รถไฟ หมูป่ากริยา กับ กริยา ต้มยำ ขายฝาก กันสาดวิเศษณ์ กับ นาม หลายใจ สองหัวบุพบท กับ นาม นอกคอก ใต้เท้าคำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำที่มาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่นคำไทย กับ คำไทย ทางด่วน ผ้ากันเปื้อน เรือหางยาวคำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น ผงชูรส ผ้าอนามัย การทางพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น