วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

คำซ้อน

คำซ้อน คือคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปซึ่งมีความหมายเหมือนกันหรือไปในทำนองเดียวกันหรือมีความหมายต่างกันในลักษณะตรงข้าม มารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมาคำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม กริยา หรือวิเศษณ์ก็ได้ คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น

นามกับนาม เช่น เนื้อตัว เรือแพ ลูกหลาน เสื่อสาด หูตา กริยากับกริยา เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน

วิเศษณ์กับวิเศษณ์ เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน ซีดเซียว เด็ดขาดคำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่นคำไทยกับคำไทย เช่น ผักปลา เลียบเคียง อ่อนนุ่ม อ้อนวอน

คำไทยกับคำเขมร เช่น แบบฉบับ พงไพร หัวสมอง แจ่มจรัสคำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น เขตแดน โชคลาง พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะคำเขมรกับคำเขมร เช่น ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง

คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น สรงสนาน ตรัสประภาษ เสบียงอาหารคำมูลที่นำมาซ้อนกัน ส่วนมากเป็นคำมูล 2 คำ ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล 4 คำ หรือ 6คำคำมูล 2 คำ เช่น ข้าวปลา นิ่มนวล ปากคอ ฟ้าฝน หน้าตาคำมูล 4 คำ อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง กู้หนี้ยืมสิน ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา ต้อนรับขับสู้คำมูล 6 คำ มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น คดในข้องดในกระดูก จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ด

คำซ้อน แบ่งเป็น 2 พวกคือ คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียงคำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

2. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่นเสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่มเรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมดข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไปพี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมดหมูเห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด

3. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกันเช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล ( ชอบกล ) ฤกษ์งามยามดี ( ฤกษ์ดี ) ยากดีมีจน ( ยากจน ) 4. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกันเช่น ชั่ว ดี ( ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน ) ผิดชอบ ( ความรับผิดชอบ ) เท็จจริง ( ข้อเท็จจริง )

คำซ้อน เพื่อเสียง ส่วนมากเกิดจากพยางค์สองพยางค์ซึ่งมีเสียงพยัญชนะต้นอย่างเดียวกัน เสียงสระหรือเสียงพยัญชนะสะกดอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ พยางค์ที่นำมาประกอบกันอาจไม่มีความหมายหรือมีความหมายเพียงคำเดียว อีกคำหนึ่งอาจเป็นคำโบราณหรือคำภาษาถิ่น แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำซ้อนต้องมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง มีดังนี้

1.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่นเกะกะ ขรุขระ คู่คี่ เงอะงะ ซู่ซ่า

2.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่น เก้งก้าง ขลุกขลิก คึกคัก จริงจัง โผงผาง

3.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงสระเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะสะกด เช่น แจกแจง เพลิดเพลิน ทาบทาม ยอกย้อน สอดส่อง

4. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระและพยัญชนะสะกด โดยมีพยัญชนะสะกดหรือไม่มีก็ได้ เช่น กงการ ขบขัน งงงวย ฟุ่มเฟือย เจือจาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น