วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

คำซ้ำ คำพ้องเสียง คำประสม

คำซ้ำ ความหมายของคำซ้ำคำซ้ำเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลังคำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้ มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้นคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ - กริยาช่วย เช่น จะ คง ได้ อาจ - บุพบท เช่น ของ แห่ง ด้วย กับ - สันธาน เช่น เมื่อ หลังจาก ตั้งแต่ และ แต่ หรือ จึง คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์ เช่น หยิมๆ หลัดๆ ดิกๆ ยองๆ นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้ เป็น เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง เป็น เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน เป็น อิดๆ เอื้อนๆ

3. นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ

4. คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม

4.1 บอกพหูพจน์ คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล หนุ่มๆ มากับสาวๆ

4.2บอกความไม่เจาะจง การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้

5. บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น พื้นๆ (ธรรมดา) กล้วยๆ (ง่าย) น้องๆ (เกือบ, ใกล้, คล้าย) อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ) งูๆปลาๆ

6. คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้ เช่น เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้ เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ

คำพ้องเสียง คือคำมูลที่มีรูปคำต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำที่ออกเสียง สัน มีรูปคำได้ต่างๆ ดังนี้ี้
ศัล : เปลือกไม้
ศัลย์ : ลูกศร , ของมีปลายแหลม
สรร : คัด , เลือกสรรค์ : สร้างสรรพ์ : ทุกสิ่ง , ทั้งหมดสัณฑ์ : ดง , ที่รกสันต์ : เงียบ , สงบสัน : สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว



คำประสม

คือคำที่เกิดจากการประกอบคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป และมีความหมายใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำมูลเดิม หรือมีความหมายเป็นเชิงอุปมาหรือโดยนัย แต่ยังมีเค้าความหมายของคำมูลเดิมการสร้างคำประสม มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดคำใหม่เพิ่มขึ้น เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปคำพอที่เข้าใจความหมายกันได้ทั่วไปคำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบทก็ได้เช่นนาม กับ นาม หัวใจ รถไฟ หมูป่ากริยา กับ กริยา ต้มยำ ขายฝาก กันสาดวิเศษณ์ กับ นาม หลายใจ สองหัวบุพบท กับ นาม นอกคอก ใต้เท้าคำมูลที่นำมาประสมกัน อาจเป็นคำที่มาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่นคำไทย กับ คำไทย ทางด่วน ผ้ากันเปื้อน เรือหางยาวคำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น ผงชูรส ผ้าอนามัย การทางพิเศษ

คำซ้อน

คำซ้อน คือคำที่เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปซึ่งมีความหมายเหมือนกันหรือไปในทำนองเดียวกันหรือมีความหมายต่างกันในลักษณะตรงข้าม มารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมาคำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม กริยา หรือวิเศษณ์ก็ได้ คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น

นามกับนาม เช่น เนื้อตัว เรือแพ ลูกหลาน เสื่อสาด หูตา กริยากับกริยา เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน

วิเศษณ์กับวิเศษณ์ เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน ซีดเซียว เด็ดขาดคำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่นคำไทยกับคำไทย เช่น ผักปลา เลียบเคียง อ่อนนุ่ม อ้อนวอน

คำไทยกับคำเขมร เช่น แบบฉบับ พงไพร หัวสมอง แจ่มจรัสคำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น เขตแดน โชคลาง พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะคำเขมรกับคำเขมร เช่น ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง

คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น สรงสนาน ตรัสประภาษ เสบียงอาหารคำมูลที่นำมาซ้อนกัน ส่วนมากเป็นคำมูล 2 คำ ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล 4 คำ หรือ 6คำคำมูล 2 คำ เช่น ข้าวปลา นิ่มนวล ปากคอ ฟ้าฝน หน้าตาคำมูล 4 คำ อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง กู้หนี้ยืมสิน ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา ต้อนรับขับสู้คำมูล 6 คำ มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น คดในข้องดในกระดูก จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ด

คำซ้อน แบ่งเป็น 2 พวกคือ คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียงคำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

2. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่นเสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่มเรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมดข้าวปลา ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไปพี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมดหมูเห็ดเป็ดไก่ หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด

3. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกันเช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล ( ชอบกล ) ฤกษ์งามยามดี ( ฤกษ์ดี ) ยากดีมีจน ( ยากจน ) 4. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกันเช่น ชั่ว ดี ( ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน ) ผิดชอบ ( ความรับผิดชอบ ) เท็จจริง ( ข้อเท็จจริง )

คำซ้อน เพื่อเสียง ส่วนมากเกิดจากพยางค์สองพยางค์ซึ่งมีเสียงพยัญชนะต้นอย่างเดียวกัน เสียงสระหรือเสียงพยัญชนะสะกดอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ พยางค์ที่นำมาประกอบกันอาจไม่มีความหมายหรือมีความหมายเพียงคำเดียว อีกคำหนึ่งอาจเป็นคำโบราณหรือคำภาษาถิ่น แต่เมื่อประกอบกันเป็นคำซ้อนต้องมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง มีดังนี้

1.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่นเกะกะ ขรุขระ คู่คี่ เงอะงะ ซู่ซ่า

2.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงสระ เช่น เก้งก้าง ขลุกขลิก คึกคัก จริงจัง โผงผาง

3.แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงสระเหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะสะกด เช่น แจกแจง เพลิดเพลิน ทาบทาม ยอกย้อน สอดส่อง

4. แต่ละพยางค์มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระและพยัญชนะสะกด โดยมีพยัญชนะสะกดหรือไม่มีก็ได้ เช่น กงการ ขบขัน งงงวย ฟุ่มเฟือย เจือจาน

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป


ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต

ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้
อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/70 เท่าเดิมก็ได้
เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซิสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น
จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท
เชื้อชาติ พบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39% ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ 17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21%


ระดับความรุนแรง

ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ


อาการของผู้ป่วย
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ
ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ
กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60-75 % , เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %


ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด
อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้


ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม
ลดน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง
รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม

รูปแบบของ กริยา 3 ช่อง Regular Verbs

รูปแบบของ กริยา 3 ช่อง Regular Verbs
1. Verbs บางคำที่ลงท้ายด้วย y ในรูป Present Tense (ปัจจุบัน ช่อง1) เมื่อเปลี่ยนเป็น Past Tense (อดีต ช่อง2) และ Past Participle (ช่อง3) จะเปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ed ลงท้าย เช่น Persent Past Past Participle คำแปล accompany accompanied accompanied มากับ,ไปกับ amplify amplified amplified ขยายให้มาก apply applied applied ร้องเรียน,ขอสมัคร beautify beautified beautified สวยงาม cry cried cried ร้องไห้ deny denied denied ปฏิเสธ envy envied envied อิจฉา gratify gratified gratified ทำให้สำเร็จ harry harried harried ทำให้เสียหาย imply implied implied หมายความว่า justify justified justified แสดงหลักฐาน marry married married แต่งงาน nutrify nutrified nutrified ให้อาหาร occupy occupied occupied ครอบครอง pity pitied pitied สงสาร ratify ratified ratified อนุมัติ study studied studied ศึกษา try tried tried พยายาม unify unified unified รวมกัน vary varied varied เปลี่ยนแปลงไป worry worried worried กังวล
2. Verbs บางคำที่ลงท้ายด้วย e ในรูป Present Tense (ปัจจุบัน ช่อง1) เมื่อเปลี่ยนเป็น Past Tense (อดีต ช่อง2) และ Past Participle (ช่อง3) เติม d เพียงตัวเดียว เช่น Persent Past Past Participle คำแปล amaze amazed amazed ทำให้ประหลาดใจ bathe bathed bathed อาบน้ำ care cared cared ระมัดระวัง dance danced danced เต้นรำ efforce efforced efforced พยายาม face faced faced เผชิญหน้า graduate graduated graduated รับปริญญา hate hated hated เกลียดชัง implore implored implored อ้อนวอน judge judged judged พิพากษา laze lazed lazed เกลียดคล้าน masticate masticated masticated เคี้ยว narrate narrated narrated บรรยาย ogle ogled ogled ยักคิ้ว paddle paddled paddled พายเรือ regale regaled regaled ยกยอ smile smiled smiled ยิ้ม tune tuned tuned ตั้งเสียง whistle whistled whistled เป่านกหวีด yoke yoked yoked เข้าคู่
3. Verbs ต่อไปนี้เปลี่ยนรูปจาก Present Tense (ปัจจุบัน ช่อง1) เป็น Past Tense (อดีต ช่อง2) และ Past Participle (ช่อง3) ด้วยการเติม ed ลงไปตามกฏเกณฑ์ เช่น Persent Past Past Participle คำแปล absent absented absented ไม่อยู่ band banded baned รวมพวก chew chewed chewed เคี้ยว push pushed pushed เสือก rain rained rained ฝนตก step steped steped ก้าวเดิน talk talked talked พูดคุย visit visited visited เยี่ยมเยือน wed weded weded แต่งงาน
"Irregular Verbs"
หมายถึง กริยาที่ผันเป็นรูป Past Tense (อดีต ช่อง2) และ Past Participle (ช่อง3) โดยการเปลี่ยนสระ หรือ พยัญชนะหรือคงรูปเดิม เช่น Persent Past Past Participle คำแปล arise arose arisen ลุกขึ้น become became become กลายเป็น cast cast cast ขว้าง do did done ทำ earn earned earned หาเลียงชีพ feel felt felt รู้สึก get got got,gotten ได้รับ hang hung,hanged hung,hanged ห้อย improve improved improved ทำให้ดีขึ้น judge judged judged ตัดสิน know knew known รู้ lead led led นำ,พา make made made ทำ neglect neglected neglected ละเลย open opened opened เปิด put put put วาง read read read อ่าน sell sold sold ขาย think thought thought คิด ondo undid undone แก้ win won won ชนะ
"Singular & Plural"
กฏการเปลี่ยนรูปของคำนามจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์
กฎข้อที่ 1 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย s,ss,sh,ch,x และ z ให้เติม es ที่ท้ายคำนั้น เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย abbess abbesses หัวหน้าชี box boxes กล่อง church churches โบสถ์ dish dishes จาน eyelash eyelashes ขนตา fox foxes สุนัขจิ้งจอก glass glasses แก้ว kiss kisses จูบ lash lashes ขนตา match matches ไม้ขีดไฟ sandwich sandwiches ขนมปังประกบหมูแฮมไข่ tax taxes ภาษี virus viruses พิษ,เชื้อโรคต่างๆ wish wishes คำอวยพร,คำอธิษฐาน
ยกเว้น
ถ้าคำนามมีตัวสะกดลงท้ายด้วย ch แต่ ch นั้นออกเสียงเป็น k ให้เติม s ได้เลย เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย epoch epochs ยุค monarch monarchs พระมหากษัตริย์ stomach stomachs ท้อง,กระเพาะ
กฎข้อที่ 2 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย y และตัวสะกดก่อนหน้า y เป็นพยัญชนะธรรมดา (consonant ยกเว้น a,e,I,o,u) ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม es เช่น เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย ability abilities ความสามารถ body bodies ร่างกาย cemetery cemeteries ป่าช้าฝังศพ duty duties หน้าที่,ความเคารพ,ภาษี,อากร electricity electricities ไฟฟ้า,กระแสไฟฟ้า factory factories โรงงาน gallery galleries ทางเดินมีหลังคา,ห้องแสดงภาพ history histories ประวัติศาสตร์ industry industries อุตสาหกรรม jury juries คณะกรรมการสำหรับการตัดสินการแข่งขัน landlady landladies เจ้าของบ้าน,ผู้หญิงเจ้าของโรงแรม machinery machineries เครื่องกลไก,เครื่องมือ,กลไก property properties ทรัพย์สมบัติ secretary secretaries เลขานุการ tootsy tootsies คู่รักที่เป็นหญิง utility utilities ประโยชน์,หุ้นบริษัทสาธารณูปโภค visionary visionaries (คน)ชอบฝัน,สร้างวิมานในอากาศ waranty waranties การประกัน zealotry zealotries ความบ้า,ความรุนแรง กฎข้อที่ 3 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย y และตัวสะกดก่อนหน้า y เป็นสระ a,e,I,o,u อาจเติม s หลัง y ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม es เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย abbey abbeys วัด essay essays ความพยายาม galley galleys เรือโบราณในสมัยกรีก,ห้องครัวในเรือ play plays ละคร,เรื่องละคร survey surveys แผนที่,กรมสำรวจ,กรมแผนที่ turnkey turnkeys ผู้ถือกุญแจห้องขัง volley volleys การยิงพร้อมกัน
กฎข้อที่ 4 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย o และตัวสะกดก่อนหน้า o เป็นพยัญชนะธรรมดา (consonant, ยกเว้น a,e,I,o,u) ให้เติม es ท้าย o เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล cargo cargoes สินค้าที่บรรทุกเรือ echo echoes เสียงสะท้าน,เครื่องส่อ hero heroes ผู้กล้าหาญ,วีรบุรุษ,คนเก่ง mosquito mosquitoes ยุง negro negroes คนนิโกร potato potatoes มันฝรั่ง tobacco tobaccoes ต้นยาสูบ,ยาเส้น veto vetoes การยับยั้ง zucchetto zucchettoes หมวกชนิดหนึ่ง
ยกเว้น
คำนามที่มีตัวสะกดลงท้ายด้วย o และตัวสะกดก่อนหน้า o เป็นพยัญชนะธรรมดา แต่เป็นคำที่เกี่ยวกับเรื่องดนตรี หรือคำพิเศษบางคำ ให้เติม s ได้เลยโดยไม่ต้อง ใช้ es เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล auto autos รถยนต์ banjo banjos แบนโจ(เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง) concerto concertos การเล่นดนตรีชนิดหนึ่งซึ่งใช้เครื่องดนตรี บางชนิดเป็นหลักและใช้วงใหญ่รับ dynamo dynamos เครื่องทำกระแสไฟฟ้าชนิดขดลวดหมุนผ่านแม่เหล็ก memento mementos ของที่ระลึก halo halos รัศมี,บุญวาสนา,บารมี piano pianos เปียโน soprano aopranos นักร้องสตรีเสียงสูง torso torsos ลำตัว virtuoso virtuosos ผู้มีความรู้ในศิลปะ,ผู้รักศิลปะ yo-yo yo-yos ลูกดิ่ง กฎข้อที่ 5 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย o และตัวสะกดก่อนหน้า o เป็นสระ ( vowel a,e,I,o,u) อาจเติม S ท้าย o ได้ทันที เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล cameo cameos รูปสลักเล็กๆ สำหรับทำแหงนหรือห้อยคอ embryo embryos ลูกซึ่งอยู่ในท้อง patio patios ลานหรือระเบียงติดกับบ้านไม่มีหลังคา ratio ratios สัดส่วน,อัตราส่วน studio studios ห้องถ่ายรูป,ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง vireo vireos นกเล็กๆ ชนิดหนึ่ง zoo zoos สวนสัตว์
กฎข้อที่ 6 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วเติม es เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล calf calves น่อง half halves ครึ่ง knife knives มีด leaf leaves ใบไม้ life lives ชีวิต self selves ตนเอง thief thieves ขโมย,ผู้ร้ายลักรถ whaef wharves ท่าสำหรับเรือใหญ่เข้าเทียบ
ยกเว้น
คำนามบางคำที่มีตัวสะกดลงท้ายด้วย f หรือ fe แต่ไม่ต้อง เปลี่ยน f หรือ fe เป็น ves คือเติม s หลัง f ได้เลย เช่น เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล belief beliefs ความเชื่อ,ความไว้วางใจ chief chiefs หัวหน้า,ผู้บังคับบัญชา,นาย dwarf dwarfs คน,สัตว์ handkerchief handkerchiefs ผ้าเช็คหน้า plaintiff plaintiffs บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิพากษาคดี roof roofs หลังคา,เพดานในปาก safe safes ตู้นิรภัย,ความปลอดภัย
กฎข้อที่ 7 คำนามที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์ เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล child children เด็ก,บุตร foot feet เท้า,ฝีเท้า goose geese คนโง่,ห่าน louse lice เหา,หมัด,ไร man men ผู้ชาย,คนขี้อาย ox oxen วัวตัวผู้ penny pence เงินหรือเหรียญของอังกฤษ tooth teeth ฟัน,ซี่หวี่ upperclassman upperclassmen คนผู้ดี,คนชั้นสูง woman women ผู้หญิง yardman yardmen คนทำสวน
กฎข้อที่ 8 คำนามที่รูปของคำมี - (hyphen) เมื่อต้องการจะเปลี่ยนเป็นพหูพจน์ ให้พิจารณาหาส่วนที่สำคัญหรือส่วนที่เป็นความหมายเอกพจน์ (principal) ของคำนั้นแล้วทำส่วนนั้นให้เป็นพหูพจน์ เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล brother-in-law brothers-in-law พี่เขย,น้องเขย court-martial courst-martial, ศาลทหาร court-martials editor-in-chief editors-in-chief หัวหน้าบรรณาธิการ father-in-law fathers-in-law พ่อสามี,พ่อตา mother-in-law mothers-in-law แม่สามี,แม่ยาย sister-in-law sisters-in-law พี่สะใภ้,น้องสะใภ้ wagon-lit wagons-lits รถนอนของขบวนรถไฟของฝรั่งเศล
กฎข้อที่ 9 ตัวเลข ตัวอักษร และเครื่องหมายในบางกรณี เมื่อจะทำให้เป็นพหูพจน์ ให้เติม 's เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ 2 2's 48 48's A A's * *'s # #'s
ยกเว้น
ถ้าตัวเลขจำนวนนั้น เขียนอยู่ในรูปของตัวอักษร การเปลี่ยนเป็นพหูพจน์ ทำได้โดยเติม s เลย เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ eight eights fifty-sixes fifty-sixes twenty-three twenty-threes zero zeros, zeroes
กฏข้อที่ 10 ในภาษาอังกฤษแบบเก่าจะมีรูปพหูพจน์สำหรับ Mr. , Mrs. และ Miss คือ
เอกพจน์ พหูพจน์ Mister (Mr,) Messrs. (มาจาก Messicurs) Missis (Mrs.) Mmes. (มาจาก Mesdames) Miss (Ms.) Misses
หมายเหตุ
โอกาสที่จะใช้ เช่น เมื่อจะเขียนจดหมายถึงสามพี่น้องตระกูล Smith แทนที่จะเขียนว่า Dear Mr. Smith, Mr,Smith and Mr, Smith อาจเขียนว่า Dear Messrs. Smith แต่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยได้พบรูป แบบนี้แล้ว ในกรณีดังกล่าวอาจเขียนว่า Dear Gentlemen
กฎข้อที่ 11 มีคำนามอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งใช้รูปเดียวกันทั้งเอกพจน์ และ พหูพจน์ เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล abatis abatis กับดัก,หลุมพราง corps corps คณะ,เหล่า deer deer กวาง fish fish ปลา gross gross (กำไร) รวมยอด,ทั้งหมด head (of cattle) head การนับจำนวนสัตว์เป็นรายตัว Japanese Japanese คนญี่ปุ่น means (method) means วิถีทาง sheep sheep แกะ tinworks tinworks โรงงานแปรรูปดีบุก volte-face volte-face การหันตัวกลับอย่างรวดเร็ว, การกลับความเห็น waterfowl waterfowl นกน้ำ yuan yuan หยวน,หน่วยเงินของจีน zuni zuni, zunis ชนเผ่าอินเดียที่อาศัยอยู่ใน อเมริกาเหนือ
หมายเหตุ
การที่เราจะทราบวว่าคำนั้นมีความหมายเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ต้องดู จากความหมายของรูปประโยคนั้น
กฎข้อที่ 12 โดยปกติคำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) จะอยู่ในรูปเอกพจน์เสมอ (ไม่มีรูปพหูพจน์) แต่ก็มีคำนามนับไม่ได้บางคำที่มีรูปของคำเหมือนเป็นพหูพจน์แต่ที่จริง เป็นเอกพจน์ เช่น
เอกพจน์ คำแปล econnmics เศรษฐกิจ,เศรษฐศาสตร์ measles หลักจรรยา,ธรรมะ,จริยศาสตร์ news เรื่องใหม่,ข่าว,ความรู้ใหม่ politics วิชาการปกครอง
ตัวอย่าง
Politics is a vital field. Economics is an interesting field.
กฎข้อที่ 13 มีคำนามบางคำที่จะอยู่ในรูปพหูพจน์เท่านั้น (ไม่มีรูปเอกพจน์) คำนามประเภท นี้มักจะเป็นชื่อสิ่งของที่ประกอบด้วย 2 ส่วนที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล auspices ฤกษ์,ความอุปถัมภ์ binoculars กล้องส่องทางไกล clothes เสื้อผ้า,เครื่องนุ่งห่ม glasses แว่นตา headquarters กองบัญชาการ,สำนักงานใหญ่ pajamas เสื้อนอน riches ทรัพย์ spectacles แว่นตา tights เสื้อกางเกงยืดแนบเนื้อ underpants กางเกงใน victuals อาหาร,เสบียง willies ระบบประสาท,อาการอย่างหนึ่งทางประสาท
กฎข้อที่ 14 มีคำนามบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่น เช่น กรีก หรือลาติน จะมี กฎการเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์ที่แปลกไป คือ
14.1 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย is ต้องเปลี่ยน is เป็น es เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ พหูพจน์ analysis analyses การวิเคราะห์ basis bases หลักสำคัญ,เกณฑ์,มาตรฐาน crisis crises ขั้นฉุกเฉิน,วิกฤตกาล hypothesis hypotheses สมมติฐาน oasis oases ที่ที่มีน้ำและต้นไม้กลางทะเลทราย parenthesis parentheses ข้อความในวงเล็บ synopsis synopses ประมวลเรื่อง,สรุปความ,ย่อเรื่อง thesis theses ข้อสมมติ,วิทยานิพนธ์
14.2 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย um ต้องเปลี่ยน um เป็น a และ us เป็น i เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล agendum agenda,agendums ระเบียบวาระการประชุม nucleus nuclei จุดศูนย์กลาง,แก่น radius radii รังสีของดวงอาทิตย์,รัศมีของวงกลม stimulus stimuli เครื่องเร้า,เครื่องกระตุ้น uterus uteri,uteruses มดลูก villus villi อวัยวะในลำไส้ใหญ่
14.3 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย a ต้องเติม e ท้าย a เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล alumna (female) alumnae นิสิตเก่า (หญิง) formula formulae,formulas เกณฑ์,กฎ,หลัก,สูตร tibla tiblae กระดูกหน้าแข้ง,หน้าแข้ง uvula uvulae ลิ้นไก่ vertebra vertebrae ข้อกระดูกสันหลัง
14.4 ถ้าคำนามนั้นมีตัวสะกดลงท้ายด้วย ex หรือ ix ต้องเปลี่ยน ex หรือ ix เป็น ices เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล appendix appendices, ภาคผนวกของหนังสือ, appendixes ส่วนต่อท้าย index indexes, เครื่องชี้,สารบัญ, indices ดัชนี
กฎข้อที่ 15 ประเภทคำพิเศษที่ไม่เข้ากฎใดๆ ทั้งสิ้น เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ คำแปล abducens abducentes ชื่อเส้นประสาทจากสมองถึง ดวงตา tonneau tonneaus, ตอนหลังของรถยนต์สองตอน tonneaux trauma traumas, แผล traumata

"Tense" หมายถึง การแสดงเวลาของกริยาในประโยคว่า ทำอยู่ขณะนี้ ได้ทำแล้วหรือจะทำต่อไป ดังนั้น Tense จึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ Verb เพราะเมื่อรูปของ Verb เปลี่ยนไป ก็มีผลทำให้ Tense เปลี่ยนตามไปด้วย Present Simple Tense (ปัจจุบันธรรมดา)
โครงสร้าง
[ Subject(ประธาน) + V.1 + Object(กรรมของกริยา) ]
ตัวอย่าง
- Affirmative Statements (ประโยคบอกเล่า) I eat fresh fruit. He eats fresg fruit. หมายเหตุ ประธานเป็นพหูพจน์ไม่ต้องเติม s เติม s เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ เฉพาะประโยคบอกเล่า
- Negative Statements (ประโยคปฏิเสธ) I don't eat fresh fruit. He doesn't eats fresg fruit. หมายเหตุ ประธานเป็นพหูพจน์ ใช้ don't เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ใช้ doesn't
- Yes / No Questions (ประโยคคำถาม โดยใช้ Yes/No) Do you eat fresh fruit? Does he eat fresh fruit? หมายเหตุ ประธานเป็นพหูพจน์ ใช้ do เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ใช้ does
- Short Answers (การตอบ Yes/No แบบสั้น) Yes, I do. , No, I don't. Yes, he does. , No, he doesn't. หมายเหตุ ประธานเป็นพหูพจน์ ใช้ do เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ใช้ does - Information Questions (ประโยคคำถาม โดยใช้ Wh ) who do you teach on Tuesdays? What does he eat? where do they travel in the winter? หมายเหตุ ประธานเป็นพหูพจน์ ใช้ do เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ใช้ does
Present Continuous Tense (ปัจจุบันกำลังกระทำ)
โครงสร้าง
[ Subject(ประธาน) + is,am,are + Verb (รูปเดิม) Object(กรรมของกริยา) ]

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาญี่ปุ่น 日本語
あいさつ(aisatsu)คำทักทายภาษาญี่ปุ่น
1. はじめまして。ชื่อ です。どうぞ よろしく。 Hajimemashite. ชื่อ desu. Douzo yoroshiku. ฮะจิเมะมาชิเตะ (ชื่อ) เดส โด้โซะ โยะโระชิคุ ยินดีที่ได้รู้จัก ฉันชื่อ .... ครับ/ค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/ค่ะ
2. おはよう ございます。 Ohayou gozaimasu. โอะฮาโย โกไซอิมัส สวัสดีตอนเช้า
3.こんにちは。 Konnichiwa คอนนิจิวะ สวัสดีตอนบ่าย
4.こんばんは。 Konbanwa คอนบังวะ สวัสดีตอนกลางคืน
5.おやすみなさい。 Oyasuminasai. โอะยะซุมินะไซ ราตรีสวัสดิ์
6.ありがとう ございます。 Arigatou gozaimasu. อะริกะโต่ โกะไซอิมัส ขอบคุณมากครับ/ค่ะ
7.どういたしまして。 Douitashimashite. โดอิตะชิมะชิเตะ ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ
8.あついですね。 Atsuidesune. อะซึ่ย เดสเนะ ร้อนจังนะครับ/ค่ะ
9.さむいですね。 Samuidesune. ซะมุ่ย เดสเนะ หนาวจังนะครับ/ค่ะ
10.いいてんきですね。 Iitenkidesune. อี้เตงกิเดสเนะ อากาศดีจังนะครับ/ค่ะ
11.あめですね。 Amedesune. อะเมะ เดสเนะ ฝนจะตกนะครับ/ค่ะ
12.すみません/すいません。 Sumimasen/suimasen. ซุมิมะเซง/ซุยมะเซง ขอโทษนะครับ/ค่ะ (Excuse me)
13.ごめんなさい。 Gomennasai. โกเมงนาไซ ขอโทษนะครับ/ค่ะ (Ì’m sorry)
14.すいません。もう いちど おねがいします。 Suimasen. Mouichido onegaishimasu. ซุมิมะเซง โม่อิจิโดะ โอะเนไกชิมัส ขอโทษนะครับ รบกวนขออีกครั้งหนึ่งครับ/ค่ะ

15.さようなら。
Sayounara
ลาก่อน

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การค้าระหว่างประเทศ

1. การค้าระหว่างประเทศ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งกับประเทศอื่นๆ

2. สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
- แต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างกัน
- แต่ละประเทศมีรสนิยมในการบริโภคแตกต่างกัน
- แต่ละประเทศผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนที่แตกต่างกัน
3. ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ
- เกิดการจัดสรรทรัพยากรจากแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปยังแหล่งที่ขาดแคลน
- การผลิตสินค้าตามหลักการแบ่งงานกันทำ ก่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง
- การบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ได้มากขึ้น
- การได้รับวิทยาการใหม่ๆ
- มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น
4. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

- นโยบายการค้าแบบเสรี (Free Trade Area)
นโยบายการค้าที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล

- นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน ((Protective Trade Policy)
นโยบายการค้าที่มีการกีดกันทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี
การกำหนดโควตา การให้เงินอุดหนุน
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) เป็นต้น
5. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate)
•ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี
•ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภายใต้การจัดการ

- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Rate)
6. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate)
กำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
- อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ
ความต้องการเงินตราต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับนำเข้า
- อุปทานของเงินตราต่างประเทศ
ปริมาณเงินตราต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับการส่งออก